บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรายวิชาอินเตอเน็ต และ การสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

การให้ความร่วมมือหรือกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่น

ประการ แรก ผมมองว่าอาจต้องอธิบายถึงปรากฏการในมิติการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น ว่าอยู่ในรูปแบบ ลักษณะอย่างไรด้วย แบบมีส่วนร่วมหรือแบบให้ความร่วมมือ แน่นอนครับถ้าอธิบายในแนวทางของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมที่ถูกกำหนดไว้คงจะเป็นกลไกของ ”ประชาคม” ที่มีหลายระดับไม่ว่า กลไกประชาคมในระดับหมู่บ้าน กลไกประชาคมในระดับตำบลและระดับอำเภอ เนืองจากกลไกนี้เองได้กำหนดถึงบทบาท หน้าที่ในการจัดทำและเสนอแผนพัฒนาในระดับชุมชนรวมถึงในระดับองค์กรปกครองสวน ท้องถิ่นด้วย แต่ที่ผ่านมากลไกเหล่านี้มิได้มีความคล่องตัว และขยับตัวไปในแนวทางการมีส่วนร่วม ซักเท่าไรนัก ในทางกลับกันนั้นเอง กลไกประชาคม กลับถูกทำให้มีเพียงแค่หน้าที่ในการรับรองแผนพัฒนาท้องถิ่น เป็นตราประทับความชอบธรรมของแผนกิจกรรมต่างๆ ไมว่าจะเป็นการเปิดซองประมูล การตรวจรับการจ้าง แต่ก็น่าสนใจนะครับ ถ้ากลไกภาคประชาชนจะเข้ามาใช้พื้นที่แบบนี้ในการผลักดันกลไกการมีส่วนร่วม ที่มากไปกว่าแค่การรับรองแผนพัฒนา เช่น ใช้กลไกเวทีประชาคม ในการถกเถียง วิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือใช้กลไกประชาคมเป็นช่องทางในการผลักดัน การแก้ไขปัญหาไปยังหน่วยปกครองท้องถิ่น

ประการ ที่สอง ผมมองว่ากระบวนการที่เราผลักดันมีลักษณะเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการท้องถิ่น ที่มิใช่จำกัดอยู่แค่ขอบเขตของการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเพียงแค่นั้น แต่หมายรวมถึงการเข้าร่วมในการกำหนด ติดตาม หนุนเสริมการทำงานในระดับท้องถิ่นร่วมกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ด้วย เช่นการสถาปนากลไกสภาประชาชน การเมืองภาคประชาชน ที่ทำหน้าที่หนุนเสริมการทำงานของท้องถิ่น การผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีความเป็นอิสระในการจัดการท้อง ถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของงบประมาณ การบริหารจัดการ การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้มากขึ้นและให้หน่วยของอำเภอ และจังหวัดเปลี่ยนบทบาทจากการกำกับ ควบคุม สั่งการ มาเป็นการหนุนเสริมและให้การปรึกษา

ประการ สุดท้าย ระเบียบข้อบังคับ กฎหมายของท้องถิ่น มีข้อจำกัดมากในการให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิ เช่น ชุมชนร่วมกันในการจัดการทรัพยากรในรูปแบบป่าชุมชน ภายใต้การผลักดันร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจต้องใช่ช่องทางของ พระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ปี 2542 ประเด็นสำคัญในพระราชบัญญัตินี้อยู่ที่ว่า ชุมชนร่วมกับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถออกข้อบังคับ กฎหมายในระดับท้องถิ่นได้ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ข้อบัญญัติท้องถิ่นจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น

เช่น ชาวบ้านจะมีการจัดการป่าในรูปแบบป่าชุมชน ทั้งชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลต่างเห็นชอบที่ให้มีการจัดการป่าชุมชน แต่ปรากฏว่าพื้นที่ป่าชุมชนได้ถูกกรมป่าไม้ต่อมาเป็นกรมอุทยานแห่งชาติและ พันธ์พืชได้ประกาศพื้นที่ป่าในบริเวณนั้นเป็นป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีกฎหมายที่ใช้อยู่แล้ว คำถามมีอยู่ว่า การออกข้อบัญญัติตำบลในการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขององค์การ บริหารส่วนตำบลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และนี้เองเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่เป็นข้อจำกัด อุปสรรคทางกฎหมายท้องถิ่น ที่ทำให้การใช้สิทธิของชุมชนและการสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ค่อนข้างลำบาก

ทัศนะ มุมมองการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นในสถานการณ์ใหม่

ใน ทัศนะของผม ผมเชื่อว่าการกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นจะเป็นแนวทางในการ บริหารจัดการท้องถิ่นที่สามารถตอบสนองแก้ไขปัญหาของชุมชน ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทางหนึ่ง ท้องถิ่นในที่นี้ ไม่ได้หมายความเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เป็นลักษณะโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้ง สมาชิก อ.บ.ต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาคม และองค์กรชาวบ้าน จากกลุ่มต่างๆที่ทับซ้อนกันในท้องถิ่น และ ประเด็นนี้เองจึงเป็นสิ่งที่น่าท้าทายต่อแนวทางการทำงานในระดับท้องถิ่นใน การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทางตรงหรือแนวทางที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบมี ส่วนร่วม ซึ่งอาจต้องใช่เวลาพอสมควรในการผลักดัน แต่ก็ต้องพยายามร่วมมือกันในหลายๆฝ่าย เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นรูปแบบในการกระจายอำนาจและเป็นหน่วยการปกครองที่มีพลัง มีงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่ในแง่ของกฎหมาย รวมถึงการให้การบริการต่างๆแก่ชุมชนและที่สำคัญอยู่ใกล้ชิดกับสภาพปัญหาและ ความต้องการของชุมชน ซึ่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายๆแห่งด้วยกันได้พัฒนากลไกการมีส่วนร่วม กับภาคประชาชน ในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น การแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งจำนวนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังกล่าวอาจจะมีไม่มากนัก แต่นั้นก็ทำให้เห็นว่าพัฒนาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เริ่มขยับตัวและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมไปมากขึ้นกว่าเดิม

เมือ เราย้อนมองกลับไปถึงพัฒนาการการเติบโตของการปกครองในส่วนท้องถิ่นเมือประมาณ ๑๔-๑๕ ปีผ่านมา ตั้งแต่สมัยเป็นสภาตำบล หรือสุขาภิบาล จนมาเป็นรูปแบบขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล โดยช่วงแรกสมาชิกสภามาจากเลือกตั้งและผู้บริหารมาจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนมาถึงในช่วงที่เรียกว่า ”ห้ามสวมหมวกสองใบ” คือถ้ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะลงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องลาออกก่อน แล้วหลังจากนั้นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งก็จะมาคัดเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น ด้วยกันเพื่อไปทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารที่เรียกว่า ประธานกรรมการบริหารท้องถิ่น หลังจากนั้นเมือสี่ห้า ปีที่ผ่านมา (น่าจะปลายปี ๒๕๔๕) ก็จึงนำมาสู่รูปแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นทางตรงหรือที่เรียกกันว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล/ส่วนจังหวัด หรือนายกเทศมนตรี







แน่ นอนครับว่าพัฒนาการในการกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นในช่วงที่ ผ่านมาอาจจะประสบกับปัญหาต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแกร่งของระบบราชการส่วนภูมิภาค ที่สร้างกำแพง กรอบกฎหมายเพื่อให้การเปลี่ยนศูนย์กลางอำนาจจากระบบราชการ มาให้ชาวบ้านในระดับท้องถิ่น ยากขึ้น หรือแม้แต่การผลิตซ้ำระบบอุปถัมภ์จากนักการเมืองระดับชาติที่มุ่งหวังกอบโกย ทรัพยากรต่างๆในระดับท้องถิ่น จนนำไปสู่การสร้าวาทะกรรมต่างๆขึ้นในระดับท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น อ.บ.ต. หมายถึง อมทุกบาท ทุกสตางค์ หรือ เอา บ๊ะ แต้ (ภาษาถิ่นภาคเหนือ หมายถึง เอาไม่จริง)

ผมมองว่าสถานการณ์แบบนี้ได้กระตุ้นให้เกิดกลุ่มตัวแสดงใหม่ๆในระดับท้องถิ่น(New player) ในการเข้าถึงพื้นที่การเมืองท้องถิ่นผ่าน สามกลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกเป็นกลไกภาคประชาชน ภาคประชาสังคมในระดับท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่นและการสร้างการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน โดยได้หันมาใช้พื้นที่การแก้ไขปัญหาและพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองใน ระดับท้องถิ่นกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำแหน่งผู้ บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น กันมากขึ้น เพื่อใช้เงือนไขอำนาจของรัฐในระดับท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหา หรือแม้แต่การออกข้อบัญญัติในระดับท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพขององค์กรชาวบ้านในประเด็นต่างๆตามบริบทของพื้นที่แต่ละพื้นที่

ในทางกลับกันนั้นเอง กลุ่มที่สองซึ่งเป็น กลุ่มนักการเมืองในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มนี้ค่อนข้างทรงพลัง มีทั้งอำนาจ ทั้งเงินตรา ได้ พยายามที่จะเข้าแทรกแซงการเมืองในระดับท้องถิ่นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการผลัก ดันผู้สมัครของกลุ่มตนเอง(ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจในระดับ พื้นที่ ผู้รับเหมา นักธุรกิจ พ่อค้า มาเฟียท้องถิ่น)ในการเข้าไปบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะ เป็นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล เป็นต้น

ซึ่ง แน่นอนว่ารูปแบบแบบนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การผูกขาดการเมืองทั้งระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเบ็ดเสร็จทางอำนาจ ในทางการบริหารจัดการในท้องถิ่น และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐที่ลาออกหรือกลุ่มที่เกษียณอายุราชการ ที่สนใจการการเมือง การบริหารงาน ในระดับท้องถิ่น (ซึ่งในกลุ่มนี้มีทั้งแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม และแนวคิดก้าวหน้า ผสมผสานกันไป) ก็ได้พยายามที่จะเข้าถึงและช่วงชิงพื้นที่การเมืองท้องถิ่นมากขึ้นในช่วง ระยะเวลาที่ผ่านมา

แนวทางการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม

“แนว ทางในการกระจายอำนาจที่มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการ บริหารจัดการท้องถิ่น ยังคงเป็นสิ่งที่น่าท้าทายต่อการสร้างรูปธรรมในการเรียนรู้และสถาปนากระบวน การของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีพลัง การกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นนั้นมิได้หมายถึงเพียงแค่การถ่ายโอนอำนาจ การมอบ หมายอำนาจ หน้าที่ หรือการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากรัฐส่วนกลางมาไว้ยังท้องถิ่น เท่านั้น แต่ทำอย่างไรที่จะให้องค์กรปกครองครองส่วนท้องถิ่นได้มีความเป็นอิสระในการ บริหารท้องถิ่น และที่สำคัญกว่านั้นคือ การสร้างพื้นที่ให้ภาคประชาชน องค์กรชาวบ้าน ภาคส่วนต่างๆในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปสู่ แนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่นร่วมกัน อย่างมีพลัง”



ใน ช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมานั้น พัฒนาการของการเปลี่ยนผ่านแนวทางในการกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลางไปสู่ความ เป็นอิสระในระดับท้องถิ่นของประเทศไทย นั้นได้เริ่มขยับตัวและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆไปมากขึ้น กว่าเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากประชาชนใน ระดับตำบล การถ่ายโอนบทบาทหน้าที่จากรัฐส่วนกลางลง มายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาในระดับท้อง ถิ่น การเพิ่มพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากกว่าเดิม กระบวนการในการออกข้อบัญญัติในระดับท้องถิ่น การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นและการเข้าถึงงบประมาณขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่นใน การรองรับกิจกรรมขององค์กรชาวบ้าน แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง เราก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าความพยายามที่จะรักษาอำนาจของระบบราชการ ก็ยังมีอยู่และได้แผ่ขยายตัวมาสู่โครงสร้างของระบบราชการส่วนท้องถิ่นมาก ขึ้นหรือที่เรียกว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยท้องถิ่น (Local-Bureaucracy) โดยผ่านการสร้างกฎระเบียบระเบียบ ข้อบังคับ พระราชบัญญัติ กฎหมายท้องถิ่น ต่างๆขึ้นมาโดยใช้กลไกของกระทรวงมหาดไทย เพื่อกำกับ ควบคุม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ใน การบริหารจัดการท้องถิ่น รวมถึงการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองในระดับชาติ นักการเมืองในระดับท้องถิ่น นายทุน ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่

แต่ ปรากฏการณ์ในช่วงเวลาสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมานั้น แนวทางการผลักดันต่อสู้ ขับเคลื่อน ต่อการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนนั้นกลับไม่ได้หยุดนิ่งและยอมจำนนต่อข้อจำกัดต่างๆที่เกิดขึ้น มี จำนวนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไม่น้อยเลยที่เดียว ที่ได้สร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ภาคส่วนต่างๆในระดับท้องถิ่นเช่น การจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น การกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นที่มีกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การต่อกรกับอำนาจรัฐในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ การต่อสู้กับกลุ่มนายทุน หรือแม้แต่โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน แต่สิ่งที่น่าท้าทายต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้กลับเป็นเรื่องของ การต่อสู้ในแง่มายาคติต่อสังคม ที่ยังคงมองว่าท้องถิ่น เป็นองค์กรที่หวังกอบโกย โกงกิน เป็นลูกน้องนักการเมือง นายทุน แน่นอนว่าเราคง ปฎิเสธไม่ได้ว่าในสังคมหรือในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้นก็ยังคงมีอยู่จริง และมีอยู่มากกว่ารูปแบบการมีส่วนร่วมที่นำเสนอไป ด้วยซ้ำไป แต่ทำอย่างไรที่เราจะส่งเสริมการทำงานในแบบแรกให้มีพื้นที่การนำเสนอต่อ สังคม การยกระดับเป็นหน่วยการเรียนรู้ เพื่อขยายฐานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายๆ แห่งที่อยากจะทำแต่ไม่กล้าทำ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่อธิบายพัฒนาการการเติบโตของการกระจายอำนาจ กระบวนการและกลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ให้ก่อรูปและขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีความหวังและมีพลัง

การเมืองท้องถิ่น”จังหวะก้าวประชาธิปไตย

“การเมืองท้องถิ่น”จังหวะก้าวประชาธิปไตย PDF พิมพ์ ส่งเมล์

ขณะ ที่ประชาชนไทย กำลังเฝ้ารอการจัดตั้งรัฐบาลของผู้แทนราษฎรใหม่ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญปี 2550 การเมืองในระดับท้องถิ่นก็กำลังมีกิจกรรมสำคัญในการเลือกตั้งสมาชิกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด แม้จะเป็นเพียงการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ปกครองท้องถิ่นในระดับ จังหวัดเท่านั้น แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะมีผลกระทบกับชีวิตของคนไทยด้วยเช่นกัน
กระบวนการกระจายอำนาจของไทยเริ่มต้นและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลังจากเห ตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 ด้วยมุ่งหวังจะให้ประชาชนสามารถดูแล บริหาร และพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้ ไม่ต้องรอความหวังจากงบประมาณส่วนกลางที่กว่าจะตกถึงมือประชาชนก็เป็นไปได้ ยาก ประกอบกับคงไม่มีใครรู้ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ดีเท่ากับผู้ที่ อยู่ในพื้นที่เอง

ดร.เชาวนะ ไตรมาศ แห่งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีความเห็นว่า การปกครองในระดับท้องถิ่นเป็นระบบย่อยของการปกครองระดับชาติซึ่งมีปฏิ สัมพันธ์ต่อกันกับการปกครองระดับชาติ การปฏิรูปการปกครองระดับชาติ การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นแบบองค์รวมจึงสามารถแสวงจุดหมายในการเพิ่ม สมรรถนะใหม่ของการปกครองท้องถิ่นไทยให้สามารถส่งผลบั้นปลายตกทอดและต่อยอดไป ถึงการพัฒนการปกครองระดับชาติไปด้วย
ประกอบกับประสบการณ์อันเป็นที่ประจักษ์ชัดในกรณีของต่างประเทศทั้งใน ญี่ปุ่น และอเมริการ อังกฤษ เยอรมัน และอิตาลี ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศและรัฐบาลค่อนข้างสูงซึ่งส่วนหนึ่งเป็น ผลพวงมาจากอานิสงส์ของการพัฒนาสมรรถนะของการปกครองท้องถิ่น
ข้อดีของการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่นอีกประการที่สำคัญก็คือ เป็นการลดทอนอำนาจของข้าราชการท้องถิ่นลง แบ่งอำนาจมาให้กับเจ้าของตัวจริงซึ่งก็คือประชาชน เพราะระบบราชการเป็นเครื่องมืออันทรงพลังของผู้มีอำนาจในการปกครองแบบ ประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ ด้วยข้าราชการเป็นผู้ที่นำความต้องการของผู้มีอำนาจไปปฏิบัติให้เกิดผล

ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบประธานาธิบดี กล่าวคือ ให้ฝ่ายบริหารมาจากการเมืองตั้งโดยตรงจากประชาชน แยกอำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาออกจากกันอย่างเด็ดขาดชัดเจน ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว เป็นอิสระ และรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน ฝ่ายสภาไม่สามารถถตรวจสอบควคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้อย่างแท้จริงตามลหัก ถ่วงดุลอำนาจ ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำมีฐานะเป็นผู้ใต้บังคับบัฐชาของผู้บริหารท้องถิ่น และปฏิบัติตามนโยบาย
pic1

การปกครองท้องถิ่น ต้องเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2544 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายหลายประการ ที่ส่งผลลบต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ตามที่ ผศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการศึกษาไว้พบว่านโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างน้อย 3 ชุดเป็นนโยบายที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการหวนรวมอำนาจ ซึ่งนโยบายทั้ง 3 ชุดนั้น ได้แก่ นโยบายการปรับปรุงระบบราชการ นโยบายประชานิยม และนโยบายด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ในการดำเนินนโยบายเหล่านั้นอนกจากตัว พ.ต.ท.ทักษิณเองแล้ว ข้าราชการระดับสูงในส่วนกลางและยังอาจรวมไปถึงรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงบางคนน่า จะถือได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการสนับสนุน

ประการสำคัญ ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ของระบบราชการ และแนวโน้มของการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นใหม่ ทั้งนี้สามารถสังเกตุเห็นได้จากการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการในปี พ.ศ. 2545 และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ได้มีการบัญญัติรับรองถึงสถานภาพของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และบัญญัติให้จังหวัดสามารถจัดทำแผนและงบประมาณของตนเองได้ ซึ่งลักษณะดังกล่าวย่อมจะส่งผลให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะ เข้มแข็งมากขึ้น



จากบทความเรื่องการปกครองท้องถิ่นไทยในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ของ อาจารย์เชิงชาญ จงสมชัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปรากฎบทบัญญัติหลายข้อที่มีการปรับปรุงให้การปกครองส่วนท้องถิ่นดีขึ้นกว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 แต่ก็เป็นการย่ำเท้าอยู่ที่เดิมด้วยว่าการปกครองท้องถิ่นเป็นแบบรัฐกิจ ที่ให้ความสำคัญแก่รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่าให้ความสำคัญกับ ประชาชนในท้องถิ่น เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าการพัฒนาการ ปกครองท้องถิ่นของไทยนั้นต้องมุ่งไปที่การพัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเข้มแข็ง มิใช่มุ่งไปที่ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้มแข็ง
ส่วนที่ควรจะปรากฎก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นกลไกสำคัญที่สุดในการปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ กำหนดอนาคตของท้องถิ่นโดยมีประชาชนในท้องถิ่นเป็นผู้ตรวจสอบควบคุมองค์กร ปกครองท้องถิ่นอีกชั้นหนึ่ง

อาจารย์ สโรชา แพร่ภาษา มีความเห็นว่า ปัญหาสำคัญที่ต้องระวังคือการให้ระบบทุนเข้ามาแทรกแซงการเมืองการปกครองท้อง ถิ่น เนื่องจากนักการเมืองท้องถิ่นกับนักการเมืองระดับชาติมีความเกี่ยวพันกัน เป็นลูกโซ่ และเครือขายทำให้ระบบการปกครองท้องถิ่นเอื้ออำนวยทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ความศรัทธา และความเชื่อมั่นของประชาชนได้

การ เกิดขึ้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามครรลองที่ถูกต้อง จึงเป็นสมดุลอำนาจที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ แม้ในบางท้องถิ่นจะเป็นการสถาปนาอำนาจให้กับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น หรือเป็นการขยายผลของคอรัปชั่นจากการเมืองระดับบน ข้าราชาการ มาสู่ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น แต่ก็ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ขึ้น จากการที่เราได้เห็นว่าเป็นเวลาที่คนท้องถิ่นจะมีสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะได้ทั่วถึงมากขึ้น

ที่มา http://www.isranews.org/politic/index.php?option=com_content&task=view&id=624&Itemid=27

สัมภาษณ์ “ณัฐกร วิทิตานนท์” …ทบทวนให้จงหนักก่อนจะ “ยี้” เรื่องขึ้นเงินเดือน “อบต.”

ประเด็นที่ร้อนแรงและเรียกเสียง “ยี้” จากคนในสังคมเกือบทุกรอบ ไม่ว่ารัฐบาลไหนที่พยายามขยับเงินเดือนให้กับนักการเมืองระดับชาติและท้อง ถิ่น

รอบนี้ก็เช่นเดียวกันเมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ พยายามจะขึ้นเงินเดือนให้กับนักการเมืองระดับชาติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพรรคร่วมอย่างพรรคภูมิใจไทย ที่พยายามเสนอขึ้นเงินเดือนให้กับนักการเมืองท้องถิ่นอย่างสมาชิกองค์การ บริหารส่วนตำบล

เกิดอะไรขึ้นกับสังคมที่พยายามปูทางไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ แต่ในอีกด้านเหมือนราวกับว่าเรายังคงมอง “นักการเมือง” ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติหรือท้องถิ่นก็ยังถูกมองเป็น “ผีห่าซาตาน” อยู่

วันนี้ประชาไทสนทนากับ “ณัฐกร วิทิตานนท์” อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้ที่เกาะติดเรื่องการเมืองระดับชาติและท้องถิ่น รวมถึงผลิตงานวิชาการ-งานเขียนเกี่ยวกับเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นมาสม่ำ เสมอคนหนึ่ง …

0 0 0

ในความคิดส่วนตัว เห็นด้วยกับการขึ้นเงินเดือน ส.ส. ส.ว. และ อบต. หรือไม่?

ไม่ว่าคนที่ชงเรื่องนี้จะหวังผลลึกๆ อย่างไร แต่โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณี อบต.

เหตุผล?

แน่นอนที่สุด การเมืองเป็นเรื่องของความเสียสละ แต่เราไม่ควรมองข้ามความเป็นจริงของการเมืองที่ว่าขณะเดียวกันมันก็มีราคา ที่ต้องจ่าย (เป็นตัวเงิน) ไม่น้อยด้วยเช่นกัน เอากันตั้งแต่เรื่องพื้นๆ อย่างการใส่ซองงานศพ งานบวช งานบุญ กฐิน ผ้าป่า งานแต่งงาน แค่นี้ก็อ่วมแล้ว ผมเคยคุยกับ ส.ท.หลายคน บอกว่าเดือนหนึ่งๆ ต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นหมื่นบาทเลยทีเดียว (ขั้นต่ำซองละ 500) ไม่ให้ก็ไม่ได้ มีเคือง เพราะถือเป็นความผูกพันทางใจระหว่างกันของผู้แทนกับราษฎร์ ขณะที่ค่าตอบแทน ส.ท. (สูงสุด) อยู่ที่เดือนละ 16,200 บาท ถ้าอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายบริหารก็ยังพอมีหนทางจุนเจือ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เลือกตั้งไม่ทันไรฝ่ายค้านกลับย้ายข้างไปสนับสนุนฝ่าย ผู้บริหารซะงั้น หรือไม่เช่นนั้นที่บ้านก็ต้องมีธุรกิจใหญ่โตหนุนหลังอยู่เท่านั้นจึงจะอยู่ ได้โดยไม่เดือดร้อน

ทีนี้ลองย้อนไปดูค่าใช้จ่ายตอนจะเข้าสู่การเมืองบ้าง นี่นับเฉพาะช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ไหนจะค่าป้าย แผ่นพับ รถแห่ จ้างคนช่วยหาเสียง เอาตามตัวเลขที่เป็นทางการที่ กกต.กำหนดไว้ไม่ให้เกินนะครับ ยกตัวอย่างตำแหน่งนายก อบจ.เชียงราย ใช้ได้ไม่เกิน 3 ล้านบาท (ตัวเลขจะกี่มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแต่ละจังหวัดอีกที) แต่ได้เงินเดือนจริงๆ อยู่เต็มที่จนครบวาระ 4 ปีเต็ม รวมกัน 3,181,440 (แยกเป็นค่าตอบแทนเดือนละ 46,280 ค่าตอบแทนตำแหน่ง 10,000 ค่าตอบแทนพิเศษ 10,000) หักแล้วเหลือตังค์ให้ใช้เดือนละแค่ 3,780 บาท โดยยังมิพักเอ่ยถึงภาษีสังคมสารพัดที่ต้องจ่ายระหว่างดำรงตำแหน่ง

อีกข้อสังเกตที่น่าสนใจก็คือ เหตุไฉนที่ผ่านมาค่าตอบแทนของฝ่ายการเมืองถึงน้อยกว่าฝ่ายประจำ ทั้งๆ ที่ฝ่ายการเมือง (โดยเฉพาะตัวนายกฯ) ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กรปกครองท้องถิ่นซึ่งประชาชนให้ความไว้วางใจ มีภาระรับผิดชอบสูงกว่าในแทบจะทุกด้านก็ว่าได้ เช่นถ้ามีคดีอาญาก็ต้องติดคุกเป็นคนแรก หรือถ้าจะต้องชดใช้เงินก็ต้องชดใช้ในอัตราส่วนที่มากกว่าคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้เงื่อนไขมากมายในทางกฎหมาย ทว่าเงินเดือน นายก อบต.จากปัจจุบันที่ได้ 7 พันกว่าถึง 9 พันกว่าบาท ปีหน้าจะปรับขึ้นเป็นหมื่นห้าถึงหมื่นแปด แต่เงินเดือนปลัด อบต.กลับอยู่ที่ราวๆ หมื่นหกไปจนถึงสามหมื่น ซึ่งภาพรวมก็ยังถือว่าน้อยกว่าของฝ่ายข้าราชการประจำอยู่ดี อันนี้น่าแปลก

ในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่นักการเมืองท้องถิ่น ขอสรุปสั้นๆ อย่างนี้แล้วกันนะครับ เราจะหวังให้นักการเมืองทุ่มเททำงานในบทบาทของตัวเองอย่างเต็มที่ได้อย่างไร ในขณะที่ยังคงมีครอบครัวลูกเมียให้รับผิดชอบ

ประชาชนที่ต่อต้านอาจมองว่า นักการเมืองคือคนที่มีฐานะดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขึ้นเงินเดือน?

ในระดับชาติอาจเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็ได้ แต่ก็คงจะไม่ใช่ทุกคน ทว่าสำหรับการเมืองท้องถิ่นแล้ว การที่จะไปเหมารวมเช่นนั้นอาจไม่ถูกต้องนัก พื้นฐานของนักการเมืองท้องถิ่นจำนวนมากมาจากข้าราชการบำนาญที่ทำงานใน พื้นที่นั้นๆ มาอย่างยาวนานจนเป็นที่รู้จักคุ้นเคยและไว้วางใจของชาวบ้าน หรือไม่ก็มักเป็นคนที่เกิด โต และทำงานอยู่ในท้องถิ่นของตัวเองมาแทบจะตลอดชีวิต ด้วยความที่ญาติพี่น้องเยอะก็เลยได้รับเลือกตั้ง ทั้งสองกลุ่มนี้เค้าไม่ใช่คนซึ่งร่ำรวยอะไรที่ไหนหรอกครับ แค่อยากจะรับใช้สังคม ที่นี้การสร้างภาพว่าทำงานการเมืองถือเป็นเรื่องเปลืองตัว การเมืองเป็นเรื่องเลวร้ายโสมม คนดีๆ อย่าได้ข้องแวะ ความคิดทำนองนี้ผมว่าอันตราย เพราะเท่ากับไปจำกัดพื้นที่การเมืองสงวนไว้เฉพาะคนบางกลุ่มแค่นั้น ทั้งๆ ที่การเมืองเป็นเรื่องของคนทุกคน ไม่ว่าจะคนระดับคุณอภิสิทธิ์เรื่อยมาถึงตาสีตาสายมียายมาข้างถนน ปลูกฝังกันอย่างนี้อยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะมีใครหน้าไหนบ้างที่จะอาสาเข้ามาทำ งาน การเมืองก็ไม่มีความหลากหลาย

จึงไม่แปลกที่การรับรู้ของคนทั่วไปจะมองว่านักการเมืองท้องถิ่นเต็มไป ด้วยผู้รับเหมา เพราะการที่จะเข้ามาและอยู่ตรงนี้ได้มันก็ต้องใช้เงินหล่อเลี้ยงความนิยมมาก พอดู อันนี้คงปฏิเสธยาก แต่ไม่อยากให้คิดไปเองว่านักการเมืองทุกคนจ้องเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ เพราะจริงๆ แล้วก็มีไม่น้อยที่เต็มใจจะควักเนื้อตนเอง หวังให้มีโอกาสได้รับใช้สังคมบ้าง เช่น ทนอยู่กับรถติดไม่ได้อยากจะเข้ามาลองแก้ไขดูซะเอง หรืออยากเห็นสวนสาธารณะสวนสนุกให้ผู้คนลูกหลานได้วิ่งเล่นกัน ไม่ก็อยากกระตุ้นเตือนให้คนในท้องถิ่นหันมาเห็นความสำคัญของภาษา วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

ทีนี้ถ้าเรากลัวนักการเมืองท้องถิ่นจะมีนอกมีใน จะเกาให้ถูกที่คันก็ต้องขันน็อตกลไกตรวจสอบโดยองค์กรตัวย่อต่างๆ ทั้ง ปปช. ปปท. สตง. รวมถึงจังหวัด อำเภอให้ทำหน้าที่อย่างแข็งขัน ตรงไปตรงมา และไม่มีนอกมีในเสียเอง เพราะทุกวันนี้ก็มีกฎหมายร้อยรัดให้นักการเมืองท้องถิ่นขยับตัวยากยิ่งอยู่ แล้ว เช่น ห้ามไม่ให้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ฯลฯ

คิดว่า ทำไมการตรวจสอบนักการเมืองของคนในสังคมไทยมีสองมาตรฐานหรือไม่? เมื่อเทียบกับการพยายามตรวจสอบเรื่องเงินๆ ทองๆ กับสถาบันอื่นๆ เช่น กองทัพ, ศาล, องค์กรอิสระต่างๆ หรือแม้แต่องค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ เพราะอะไร?

สังคมนี้เคยมีมาตรฐานด้วยเหรอครับ? เหตุผลสั้นๆ คือเราเป็นสังคมที่พยายามบอกกับตัวเองตลอดเวลาว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ก็คงจะเป็นประชาธิปไตยในแบบที่ไม่เหมือนใครในโลก เพราะเป็นประชาธิปไตยที่มองข้ามการเลือกตั้ง ผมเห็นด้วยกับคำพูดที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ชอบพูดบ่อยๆ ว่า การเลือกตั้งไม่ใช่ทุกอย่างของประชาธิปไตย แต่ ผมว่าไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนหรอกไม่เอาการเลือกตั้งมาเป็นจุดตั้งต้น ภายใต้วิธีคิดดังกล่าวรัฐธรรมนูญไทยก็พยายามออกแบบให้ที่มาขององค์กรต่างๆ ปลอดจากการเมือง (ด้วยความหมายคับแคบว่าการเมืองเท่ากับการเลือกตั้ง) และเชื่อมั่นสุดๆ ว่าคนดีที่มานั่งอยู่ในองค์กรเหล่านี้ก็จะไม่โกงด้วย เมื่อเชื่อเช่นนั้นการตรวจสอบที่มีก็ไม่เข้มข้นเหมือนๆ กับที่มีต่อนักการเมือง ซึ่งเขาพากันเชื่อง่ายๆ ว่าเป็นคนไม่ดีโดยที่มา เพราะเลือกตั้งต้องใช้เงินใช้ทอง เมื่อจ่ายแล้วก็ย่อมจะต้องทอนถุนคืนเสมอไป เป็นธุรกิจการเมืองเต็มรูปแบบ

สรุปถ้าขึ้นแล้ว ควรเรียกร้องอะไรกับนักการเมือง?

เรียกร้องให้ตามให้ทันความต้องการของประชาชน อย่างน้อยๆ ก็ในพื้นที่ของท่านก่อน วันนี้สังคมเปลี่ยนโฉมไปมากแล้วท่านต้องเข้าใจ การทำงานการเมืองก็เช่นเดียวกัน ลำพังแค่ลงพื้นที่ถึงทุกงานคงไม่เพียงพอ อุดมการณ์ทางการเมืองที่ก้าวหน้าเป็นสิ่งที่สังคมกำลังเรียกร้องเอาจากท่าน ด้วย พึงระลึกไว้เสมอว่าค่าตอบแทนเหล่านี้มาจากภาษีประชาชน



...........

ดูเพิ่มเติม

10 ปี การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (พ.ศ.2543-2552): ฤาการเดินทางเพื่อกลับมา “หยุด” ตรงจุดเดิมhttp://www.prachatai3.info/journal/2010/10/31342

อภิเชต ผัดวงศ์ : ขึ้นค่าตอบแทน อบต. ใครได้ประโยชน์http://www.prachatai.com/journal/2010/12/3227

ที่มา http://prachatai.com/journal/2010/12/32344

การเมือภาคพลเมือง

การเมืองภาคพลเมือง

การเมืองภาคพลเมือง โดย ศรายุทธ อันทะไชย์ 5 มีนาคม 2552

ประเวศ วะสี กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

กว่า 75 ปีแล้ว ที่การพัฒนาการเมืองอย่างไรๆ ก็ไม่สำเร็จ เพราะโครงสร้างของประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย เราจึงมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองถาวร เป็นอุปสรรคต่อความเจริญของประเทศ ควรที่คนไทยจะให้ความสนใจ เรื่องความเป็นพลเมืองกับโครงสร้างประชาธิปไตยกันอย่างจริงจัง

โครงสร้างอำนาจรัฐเป็นโครงสร้างอำนาจรวมศูนย์ หรือโครงสร้างรัฐเผด็จการที่เป็นแท่งดำ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นแต่การเปลี่ยนแปลงผู้ถืออำนาจรัฐสูงสุด จากพระมหากษัตริย์ คณะราษฎร กองทัพ นักการเมือง/นายทุน แต่โครงสร้างอำนาจทางดิ่งสีดำยังคงอยู่เหมือนเดิม ประชาธิปไตยจึงไม่เกิด แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งก็เป็นเพียงพิธีกรรมใช้เงินเข้าสู่การมีอำนาจรัฐสูง สุด เป็นเพียงรูปแบบไม่ใช่สาระ โครงสร้างเผด็จการยังดำรงอยู่ เมื่อไม่มีประชาธิปไตยโดยสาระก็แก้ปัญหาของประเทศไม่ได้ และมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองอยู่เรื่อยไป

อำนาจรัฐโดยกระทรวงและกรมต่างๆ นั้นยื่นไปครอบคลุมทุกปริมณฑลของพื้นที่ โดยรวมศูนย์บังคับบัญชาไว้ที่ข้างบน นี้คือระบบอำนาจรวมศูนย์แนวดิ่ง ระบบอำนาจเช่นนี้คับแคบ และไม่สามารถทำงานให้ได้ผลในสังคมปัจจุบันซึ่งกว้างใหญ่ไพศาล หลากหลาย ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

นี้คือความไม่สมเหตุสมผลใหญ่ในประเทศไทย นั่นคือ สังคมสมัยใหม่ที่เติบโตกว้างใหญ่ไพศาล มีความหลากหลาย ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กับกลไกของรัฐเชิงอำนาจที่รวมศูนย์คับแคบ มีสมรรถภาพน้อย เพราะในระบบอำนาจใดๆ จะมีการเรียนรู้น้อย เนื่องจากใช้อำนาจจนเคยชิน ความล้มเหลวของกลไกรัฐจึงเป็นปัญหาใหญ่ของชาติ

ปัญหาต่างๆ ในปัจจุบันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อนยากต่อการเข้าใจและการแก้ไข กลไกของรัฐจึงแก้ปัญหาอะไรๆ ไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากจน ความอยุติธรรมในสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จริงปัญหาชายแดนภาคใต้เกิดจากความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐรวมศูนย์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น ท้องถิ่นต่างๆ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อำนาจรัฐรวมศูนย์มีวัฒนธรรมเดียวคือวัฒนธรรมอำนาจ จึงไม่ได้ผลและขัดแย้ง ซึ่งจะมีความรุนแรงในรูปต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

โครงสร้างอำนาจรัฐรวมศูนย์ทำเรื่องดีๆ ได้ยาก แต่คอร์รัปชันได้ง่าย

ในโครงสร้างอำนาจรัฐรวมศูนย์ เมื่อการเมืองเข้ามาสวมอำนาจสูงสุดจึงควบคุมเบ็ดเสร็จ มีอำนาจสมบูรณ์ อำนาจสมบูรณ์นำไปสู่คอร์รัปชันสมบูรณ์ (ABSOLUTE POWER LEADS TO ABSOLUTE CORRUPTION) ประเทศไทยจึงเป็นประเทศคอร์รัปชันสูงติดอันดับโลก นำความอัปยศมาสู่คนไทยทั้งชาติ ด้วยเหตุโครงสร้างอำนาจที่สมบูรณ์นี้แหละ ซึ่งเป็นระบอบเผด็จการฉะนั้นประชาธิปไตยจึงไม่ใช่การเลือกตั้งเท่านั้น

แต่จะต้องทำทั้งรูปและนามให้เป็นประชาธิปไตย ในทางพระพุทธศาสนา รูปกับนาม หรือ กายกับใจ เป็นของที่เชื่อมโยงกันจะขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้ ถ้าขาดรูปหรือกายก็ไม่มีใจ ถ้าขาดใจรูปก็ดำรงอยู่ไม่ได้ รูปคือโครงสร้าง ใจคือความรู้สึกนึกคิด เราคงจะต้องสนใจทั้งโครงสร้างและจิตของประชาธิปไตย

ความเป็นพลเมือง จะสร้างกายและจิตของประชาธิปไตย

ต้องเอาใจใส่ความแตกต่างของคำว่าประชาชนและคำว่าพลเมือง คำว่าประชาชนไม่ได้บอกคุณภาพ อาจจะเป็นประชาชนที่เป็นทาส อยู่ในระบบอุปถัมภ์ หมอบราบคาบแก้ว ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน แต่คำว่าพลเมือง (CITIZEN) บ่งบอกถึงคุณภาพ

พลเมืองหมายถึงคนที่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน มีอิสระ มีความรู้ มีเหตุผล มีส่วนร่วมในกิจการของส่วนรวม หรือกระบวนการทางนโยบาย

ลองดูคำนิยามข้างต้นให้ดีๆ เถิดครับ ใครๆ ก็ควรเป็นพลเมืองใช่ไหมครับ จะดีเพียงใด ถ้าเรามีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน มีอิสระ มีความรู้ มีเหตุมีผล มีส่วนร่วมในกิจการของส่วนรวม คำว่าพลเมืองจึงไม่ได้แยกพวก ใครๆ ก็ควรเป็นไม่ว่าจะเป็นประชาชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักธุรกิจ สื่อมวลชน นักวิชาการ ด้วยความสมัครใจ

ความเป็นพลเมือง คือหัวใจของประชาธิปไตย เมื่อในประเทศมีความเป็นพลเมืองกันมากๆ จะเกิดโครงสร้างและจิตใจของประชาธิปไตยขึ้น ดังนี้

0 แต่ละบุคคลมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน พากันทำเรื่องดีๆ

0 มีการรวมกลุ่มกันค้นคว้าหาความรู้ ทำเรื่องดีๆ

0 มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เกิดโครงสร้างใหม่ในสังคม ซึ่งเป็นโครงสร้างทางราบ

เมื่อมีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำด้วยความเสมอภาคและภราดรภาพในรูปต่างๆ สังคมจะเกิดโครงสร้างใหม่ เป็นโครงสร้างทางราบ ที่ไม่ใช่โครงสร้างอำนาจ แต่เป็นสัมพันธภาพด้วยใจ ด้วยการเรียนรู้ ด้วยความร่วมมือตามหลักอปริหานิยธรรม หรือธรรมะเพื่อความเจริญถ่ายเดียว สังคมที่มีโครงสร้างทางราบนี้เรียกว่า CIVIL SOCIETY หรือ สังคมแห่งความเป็นพลเมือง หรือประชาสังคม หรือสังคมสันติประชาธรรม หรือมีความเป็นประชาธิปไตยโดยสาระ

สังคมใดเป็นสังคมแห่งความเป็นพลเมือง เศรษฐกิจจะดี การเมืองจะดี และศีลธรรมจะดี

สังคมใดที่มีความสัมพันธ์ทางดิ่ง เศรษฐกิจจะไม่ดี การเมืองจะไม่ดี และศีลธรรมจะไม่ดี ทำอย่างไรก็ดีไม่ได้ในโครงสร้างแบบนี้ ดังในกรณีของประเทศไทย ฉะนั้นการส่งเสริมความเป็นพลเมือง และสังคมแห่งความเป็นพลเมือง คือ ระเบียบวาระและอนาคตของชาติ

การเมืองภาคพลเมือง ก็คือ ความเป็นสังคมพลเมือง

กล่าวคือ คนที่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน มีอิสระ มีการรวมตัวกันทำเรื่องดีๆ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ในการวางแผนการพัฒนาในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทั้งนี้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้นั่นเอง

การเมืองภาคพลเมือง เป็นหัวใจของประชาธิปไตยที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น และเกิดความถูกต้องในบ้านเมือง ที่ทุกฝ่ายควรจะส่งเสริมสนับสนุนและช่วยกันขับเคลื่อนด้วยสันติวิธี ภายในขอบเขตของกฎหมายด้วยความเมตตา ด้วยความอดทน ด้วยการใช้ปัญญา ทั้งหมดนี้เป็นอริยวิถี เราคนไทยต้องเป็นคนที่เจริญและใช้อริยวิถี ซึ่งจะทำให้เกิดอริยสังคม

ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและของการเมืองภาคพลเมืองจะทำให้เกิด ประชาธิปไตยระดับชาติที่มีคุณภาพ และวิกฤตการณ์ทางการเมืองหมดไป ทำให้ประเทศตั้งต้นไปสู่ความเจริญอย่างแท้จริงได้ ทุกภาคส่วนในสังคมจึงควรร่วมขับเคลื่อนเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น และการเมืองภาคพลเมือง

มหาวิทยาลัยและระบบการศึกษาทั้งหมดควรจะจัดการศึกษาที่ส่งเสริมความเป็น พลเมือง (CIVIC EDUCATION) ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว สื่อมวลชนทุกแขนงควรจะสื่อสารเรื่องความเป็นพลเมืองและการเมืองภาคพลเมือง การเมืองภาคพลเมืองไม่ได้อันตรายต่อใคร แต่ประชาธิปไตยที่ลงตัวจะเป็นภูมิคุ้มกันให้ทุกสถาบัน รวมทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ ฉะนั้นรัฐบาลและภาคธุรกิจควรส่งเสริมภาคพลเมือง (CITIZEN SECTOR) ให้เข้มแข็งโดยเร็ว

เป็นที่น่ายินดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสภาพัฒนาการเมือง และสภาพัฒนาการเมืองตั้งใจที่จะมุ่งส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ในวันที่ 21 มีนาคม 2551 จะมีการสัมมนาเรื่อง "เส้นทางสู่ความเข้มแข็ง...การเมืองภาคพลเมือง" จัดโดยสถาบันพระปกเกล้าและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ

ในบรรดาแนวทางหรือกลยุทธ์ที่จะส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง น่าจะมีการออก พ.ร.บ. ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง เพื่อให้เห็นว่าการเมืองภาคพลเมืองไม่ใช่เรื่องข้างถนน แต่เป็นเรื่องทรงคุณค่าที่ควรเป็นความมุ่งมั่นร่วมกันของทั้งสังคม ในกระบวนการตรา พ.ร.บ. นี้ เป็นโอกาสที่จะสร้างความเข้าใจอย่างกว้างขวาง และเมื่อเป็น พ.ร.บ. แล้ว จะได้มีความรู้สึกทางบวกว่าเป็นเรื่องของบ้านเมืองที่ผ่านการรับรองของ รัฐสภา และมีพระบรมราชโองการให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย

ความเข้าใจและความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองจะนำ ไปสู่ยุคอริยประชาธิปไตย ที่บ้านเมืองจะหลุดพ้นจากวิกฤติไปสู่ความเจริญที่แท้จริงได้

โดย..พศวัต อันทะไชย์ 20/10/51

ที่มา http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=2001265685832374493

ความหมายของการปกครองท้องถิ่น

.ความหมายของการปกครองท้องถิ่นนั้น
ได้มีผู้ให้ความหมายหรือคำนิยามไว้มากมายซึ่งส่วนใหญ่แล้วคำนิยามเหล่านั้นต่าง
มีหลักการที่สำคัญคล้ายคลึงกัน จะต่างกันบ้างก็คือสำนวนและรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

เดเนียล วิท (Danial Wit, 1967 : 101-103) นิยามว่า การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลางให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนในการบริหารท้องถิ่นตามหลักการที่ว่าถ้าอำนาจการปกครองมา จากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนเอง อันเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลาง โดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล มีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารงานภายในเขตอำนาจของตน

วิลเลี่ยม วี. ฮอลโลเวย์ (William V. Holloway, 1959 : 101-103) นิยามว่าการปกครองท้องถิ่นหมายถึง องค์การที่มีอาณาเขตแน่นอน มีประชากรตามหลักที่กำหนดไว้ มีอำนาจการปกครองตนเอง มีการบริหารการคลังของตนเอง และมีสภาท้องถิ่นที่สมาชิกได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน