บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรายวิชาอินเตอเน็ต และ การสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ทัศนะ มุมมองการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นในสถานการณ์ใหม่

ใน ทัศนะของผม ผมเชื่อว่าการกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นจะเป็นแนวทางในการ บริหารจัดการท้องถิ่นที่สามารถตอบสนองแก้ไขปัญหาของชุมชน ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทางหนึ่ง ท้องถิ่นในที่นี้ ไม่ได้หมายความเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เป็นลักษณะโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้ง สมาชิก อ.บ.ต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาคม และองค์กรชาวบ้าน จากกลุ่มต่างๆที่ทับซ้อนกันในท้องถิ่น และ ประเด็นนี้เองจึงเป็นสิ่งที่น่าท้าทายต่อแนวทางการทำงานในระดับท้องถิ่นใน การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทางตรงหรือแนวทางที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบมี ส่วนร่วม ซึ่งอาจต้องใช่เวลาพอสมควรในการผลักดัน แต่ก็ต้องพยายามร่วมมือกันในหลายๆฝ่าย เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นรูปแบบในการกระจายอำนาจและเป็นหน่วยการปกครองที่มีพลัง มีงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่ในแง่ของกฎหมาย รวมถึงการให้การบริการต่างๆแก่ชุมชนและที่สำคัญอยู่ใกล้ชิดกับสภาพปัญหาและ ความต้องการของชุมชน ซึ่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายๆแห่งด้วยกันได้พัฒนากลไกการมีส่วนร่วม กับภาคประชาชน ในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น การแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งจำนวนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังกล่าวอาจจะมีไม่มากนัก แต่นั้นก็ทำให้เห็นว่าพัฒนาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เริ่มขยับตัวและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมไปมากขึ้นกว่าเดิม

เมือ เราย้อนมองกลับไปถึงพัฒนาการการเติบโตของการปกครองในส่วนท้องถิ่นเมือประมาณ ๑๔-๑๕ ปีผ่านมา ตั้งแต่สมัยเป็นสภาตำบล หรือสุขาภิบาล จนมาเป็นรูปแบบขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล โดยช่วงแรกสมาชิกสภามาจากเลือกตั้งและผู้บริหารมาจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนมาถึงในช่วงที่เรียกว่า ”ห้ามสวมหมวกสองใบ” คือถ้ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะลงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องลาออกก่อน แล้วหลังจากนั้นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งก็จะมาคัดเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น ด้วยกันเพื่อไปทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารที่เรียกว่า ประธานกรรมการบริหารท้องถิ่น หลังจากนั้นเมือสี่ห้า ปีที่ผ่านมา (น่าจะปลายปี ๒๕๔๕) ก็จึงนำมาสู่รูปแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นทางตรงหรือที่เรียกกันว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล/ส่วนจังหวัด หรือนายกเทศมนตรี







แน่ นอนครับว่าพัฒนาการในการกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นในช่วงที่ ผ่านมาอาจจะประสบกับปัญหาต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแกร่งของระบบราชการส่วนภูมิภาค ที่สร้างกำแพง กรอบกฎหมายเพื่อให้การเปลี่ยนศูนย์กลางอำนาจจากระบบราชการ มาให้ชาวบ้านในระดับท้องถิ่น ยากขึ้น หรือแม้แต่การผลิตซ้ำระบบอุปถัมภ์จากนักการเมืองระดับชาติที่มุ่งหวังกอบโกย ทรัพยากรต่างๆในระดับท้องถิ่น จนนำไปสู่การสร้าวาทะกรรมต่างๆขึ้นในระดับท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น อ.บ.ต. หมายถึง อมทุกบาท ทุกสตางค์ หรือ เอา บ๊ะ แต้ (ภาษาถิ่นภาคเหนือ หมายถึง เอาไม่จริง)

ผมมองว่าสถานการณ์แบบนี้ได้กระตุ้นให้เกิดกลุ่มตัวแสดงใหม่ๆในระดับท้องถิ่น(New player) ในการเข้าถึงพื้นที่การเมืองท้องถิ่นผ่าน สามกลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกเป็นกลไกภาคประชาชน ภาคประชาสังคมในระดับท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่นและการสร้างการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน โดยได้หันมาใช้พื้นที่การแก้ไขปัญหาและพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองใน ระดับท้องถิ่นกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำแหน่งผู้ บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น กันมากขึ้น เพื่อใช้เงือนไขอำนาจของรัฐในระดับท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหา หรือแม้แต่การออกข้อบัญญัติในระดับท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพขององค์กรชาวบ้านในประเด็นต่างๆตามบริบทของพื้นที่แต่ละพื้นที่

ในทางกลับกันนั้นเอง กลุ่มที่สองซึ่งเป็น กลุ่มนักการเมืองในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มนี้ค่อนข้างทรงพลัง มีทั้งอำนาจ ทั้งเงินตรา ได้ พยายามที่จะเข้าแทรกแซงการเมืองในระดับท้องถิ่นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการผลัก ดันผู้สมัครของกลุ่มตนเอง(ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจในระดับ พื้นที่ ผู้รับเหมา นักธุรกิจ พ่อค้า มาเฟียท้องถิ่น)ในการเข้าไปบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะ เป็นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล เป็นต้น

ซึ่ง แน่นอนว่ารูปแบบแบบนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การผูกขาดการเมืองทั้งระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเบ็ดเสร็จทางอำนาจ ในทางการบริหารจัดการในท้องถิ่น และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐที่ลาออกหรือกลุ่มที่เกษียณอายุราชการ ที่สนใจการการเมือง การบริหารงาน ในระดับท้องถิ่น (ซึ่งในกลุ่มนี้มีทั้งแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม และแนวคิดก้าวหน้า ผสมผสานกันไป) ก็ได้พยายามที่จะเข้าถึงและช่วงชิงพื้นที่การเมืองท้องถิ่นมากขึ้นในช่วง ระยะเวลาที่ผ่านมา

1 ความคิดเห็น: