บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรายวิชาอินเตอเน็ต และ การสื่อสารในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวทางการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม

“แนว ทางในการกระจายอำนาจที่มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการ บริหารจัดการท้องถิ่น ยังคงเป็นสิ่งที่น่าท้าทายต่อการสร้างรูปธรรมในการเรียนรู้และสถาปนากระบวน การของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีพลัง การกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นนั้นมิได้หมายถึงเพียงแค่การถ่ายโอนอำนาจ การมอบ หมายอำนาจ หน้าที่ หรือการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากรัฐส่วนกลางมาไว้ยังท้องถิ่น เท่านั้น แต่ทำอย่างไรที่จะให้องค์กรปกครองครองส่วนท้องถิ่นได้มีความเป็นอิสระในการ บริหารท้องถิ่น และที่สำคัญกว่านั้นคือ การสร้างพื้นที่ให้ภาคประชาชน องค์กรชาวบ้าน ภาคส่วนต่างๆในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปสู่ แนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่นร่วมกัน อย่างมีพลัง”



ใน ช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมานั้น พัฒนาการของการเปลี่ยนผ่านแนวทางในการกระจายอำนาจจากรัฐส่วนกลางไปสู่ความ เป็นอิสระในระดับท้องถิ่นของประเทศไทย นั้นได้เริ่มขยับตัวและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆไปมากขึ้น กว่าเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากประชาชนใน ระดับตำบล การถ่ายโอนบทบาทหน้าที่จากรัฐส่วนกลางลง มายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาในระดับท้อง ถิ่น การเพิ่มพื้นที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากกว่าเดิม กระบวนการในการออกข้อบัญญัติในระดับท้องถิ่น การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นและการเข้าถึงงบประมาณขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่นใน การรองรับกิจกรรมขององค์กรชาวบ้าน แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง เราก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าความพยายามที่จะรักษาอำนาจของระบบราชการ ก็ยังมีอยู่และได้แผ่ขยายตัวมาสู่โครงสร้างของระบบราชการส่วนท้องถิ่นมาก ขึ้นหรือที่เรียกว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยท้องถิ่น (Local-Bureaucracy) โดยผ่านการสร้างกฎระเบียบระเบียบ ข้อบังคับ พระราชบัญญัติ กฎหมายท้องถิ่น ต่างๆขึ้นมาโดยใช้กลไกของกระทรวงมหาดไทย เพื่อกำกับ ควบคุม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ใน การบริหารจัดการท้องถิ่น รวมถึงการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองในระดับชาติ นักการเมืองในระดับท้องถิ่น นายทุน ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่

แต่ ปรากฏการณ์ในช่วงเวลาสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมานั้น แนวทางการผลักดันต่อสู้ ขับเคลื่อน ต่อการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนนั้นกลับไม่ได้หยุดนิ่งและยอมจำนนต่อข้อจำกัดต่างๆที่เกิดขึ้น มี จำนวนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไม่น้อยเลยที่เดียว ที่ได้สร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ภาคส่วนต่างๆในระดับท้องถิ่นเช่น การจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น การกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นที่มีกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การต่อกรกับอำนาจรัฐในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ การต่อสู้กับกลุ่มนายทุน หรือแม้แต่โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน แต่สิ่งที่น่าท้าทายต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านี้กลับเป็นเรื่องของ การต่อสู้ในแง่มายาคติต่อสังคม ที่ยังคงมองว่าท้องถิ่น เป็นองค์กรที่หวังกอบโกย โกงกิน เป็นลูกน้องนักการเมือง นายทุน แน่นอนว่าเราคง ปฎิเสธไม่ได้ว่าในสังคมหรือในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้นก็ยังคงมีอยู่จริง และมีอยู่มากกว่ารูปแบบการมีส่วนร่วมที่นำเสนอไป ด้วยซ้ำไป แต่ทำอย่างไรที่เราจะส่งเสริมการทำงานในแบบแรกให้มีพื้นที่การนำเสนอต่อ สังคม การยกระดับเป็นหน่วยการเรียนรู้ เพื่อขยายฐานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายๆ แห่งที่อยากจะทำแต่ไม่กล้าทำ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่อธิบายพัฒนาการการเติบโตของการกระจายอำนาจ กระบวนการและกลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ให้ก่อรูปและขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีความหวังและมีพลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น