“การเมืองท้องถิ่น”จังหวะก้าวประชาธิปไตย PDF พิมพ์ ส่งเมล์
ขณะ ที่ประชาชนไทย กำลังเฝ้ารอการจัดตั้งรัฐบาลของผู้แทนราษฎรใหม่ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญปี 2550 การเมืองในระดับท้องถิ่นก็กำลังมีกิจกรรมสำคัญในการเลือกตั้งสมาชิกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด แม้จะเป็นเพียงการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ปกครองท้องถิ่นในระดับ จังหวัดเท่านั้น แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะมีผลกระทบกับชีวิตของคนไทยด้วยเช่นกัน
กระบวนการกระจายอำนาจของไทยเริ่มต้นและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลังจากเห ตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 ด้วยมุ่งหวังจะให้ประชาชนสามารถดูแล บริหาร และพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้ ไม่ต้องรอความหวังจากงบประมาณส่วนกลางที่กว่าจะตกถึงมือประชาชนก็เป็นไปได้ ยาก ประกอบกับคงไม่มีใครรู้ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ดีเท่ากับผู้ที่ อยู่ในพื้นที่เอง
ดร.เชาวนะ ไตรมาศ แห่งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีความเห็นว่า การปกครองในระดับท้องถิ่นเป็นระบบย่อยของการปกครองระดับชาติซึ่งมีปฏิ สัมพันธ์ต่อกันกับการปกครองระดับชาติ การปฏิรูปการปกครองระดับชาติ การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นแบบองค์รวมจึงสามารถแสวงจุดหมายในการเพิ่ม สมรรถนะใหม่ของการปกครองท้องถิ่นไทยให้สามารถส่งผลบั้นปลายตกทอดและต่อยอดไป ถึงการพัฒนการปกครองระดับชาติไปด้วย
ประกอบกับประสบการณ์อันเป็นที่ประจักษ์ชัดในกรณีของต่างประเทศทั้งใน ญี่ปุ่น และอเมริการ อังกฤษ เยอรมัน และอิตาลี ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศและรัฐบาลค่อนข้างสูงซึ่งส่วนหนึ่งเป็น ผลพวงมาจากอานิสงส์ของการพัฒนาสมรรถนะของการปกครองท้องถิ่น
ข้อดีของการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่นอีกประการที่สำคัญก็คือ เป็นการลดทอนอำนาจของข้าราชการท้องถิ่นลง แบ่งอำนาจมาให้กับเจ้าของตัวจริงซึ่งก็คือประชาชน เพราะระบบราชการเป็นเครื่องมืออันทรงพลังของผู้มีอำนาจในการปกครองแบบ ประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ ด้วยข้าราชการเป็นผู้ที่นำความต้องการของผู้มีอำนาจไปปฏิบัติให้เกิดผล
ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบประธานาธิบดี กล่าวคือ ให้ฝ่ายบริหารมาจากการเมืองตั้งโดยตรงจากประชาชน แยกอำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาออกจากกันอย่างเด็ดขาดชัดเจน ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตัดสินใจ เด็ดขาด รวดเร็ว เป็นอิสระ และรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน ฝ่ายสภาไม่สามารถถตรวจสอบควคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้อย่างแท้จริงตามลหัก ถ่วงดุลอำนาจ ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำมีฐานะเป็นผู้ใต้บังคับบัฐชาของผู้บริหารท้องถิ่น และปฏิบัติตามนโยบาย
pic1
การปกครองท้องถิ่น ต้องเข้าสู่จุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2544 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายหลายประการ ที่ส่งผลลบต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ตามที่ ผศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการศึกษาไว้พบว่านโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างน้อย 3 ชุดเป็นนโยบายที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการหวนรวมอำนาจ ซึ่งนโยบายทั้ง 3 ชุดนั้น ได้แก่ นโยบายการปรับปรุงระบบราชการ นโยบายประชานิยม และนโยบายด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ในการดำเนินนโยบายเหล่านั้นอนกจากตัว พ.ต.ท.ทักษิณเองแล้ว ข้าราชการระดับสูงในส่วนกลางและยังอาจรวมไปถึงรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงบางคนน่า จะถือได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการสนับสนุน
ประการสำคัญ ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ของระบบราชการ และแนวโน้มของการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นใหม่ ทั้งนี้สามารถสังเกตุเห็นได้จากการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการในปี พ.ศ. 2545 และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ได้มีการบัญญัติรับรองถึงสถานภาพของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และบัญญัติให้จังหวัดสามารถจัดทำแผนและงบประมาณของตนเองได้ ซึ่งลักษณะดังกล่าวย่อมจะส่งผลให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะ เข้มแข็งมากขึ้น
จากบทความเรื่องการปกครองท้องถิ่นไทยในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ของ อาจารย์เชิงชาญ จงสมชัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปรากฎบทบัญญัติหลายข้อที่มีการปรับปรุงให้การปกครองส่วนท้องถิ่นดีขึ้นกว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 แต่ก็เป็นการย่ำเท้าอยู่ที่เดิมด้วยว่าการปกครองท้องถิ่นเป็นแบบรัฐกิจ ที่ให้ความสำคัญแก่รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่าให้ความสำคัญกับ ประชาชนในท้องถิ่น เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าการพัฒนาการ ปกครองท้องถิ่นของไทยนั้นต้องมุ่งไปที่การพัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเข้มแข็ง มิใช่มุ่งไปที่ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้มแข็ง
ส่วนที่ควรจะปรากฎก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นกลไกสำคัญที่สุดในการปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ กำหนดอนาคตของท้องถิ่นโดยมีประชาชนในท้องถิ่นเป็นผู้ตรวจสอบควบคุมองค์กร ปกครองท้องถิ่นอีกชั้นหนึ่ง
อาจารย์ สโรชา แพร่ภาษา มีความเห็นว่า ปัญหาสำคัญที่ต้องระวังคือการให้ระบบทุนเข้ามาแทรกแซงการเมืองการปกครองท้อง ถิ่น เนื่องจากนักการเมืองท้องถิ่นกับนักการเมืองระดับชาติมีความเกี่ยวพันกัน เป็นลูกโซ่ และเครือขายทำให้ระบบการปกครองท้องถิ่นเอื้ออำนวยทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ความศรัทธา และความเชื่อมั่นของประชาชนได้
การ เกิดขึ้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามครรลองที่ถูกต้อง จึงเป็นสมดุลอำนาจที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ แม้ในบางท้องถิ่นจะเป็นการสถาปนาอำนาจให้กับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น หรือเป็นการขยายผลของคอรัปชั่นจากการเมืองระดับบน ข้าราชาการ มาสู่ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น แต่ก็ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ขึ้น จากการที่เราได้เห็นว่าเป็นเวลาที่คนท้องถิ่นจะมีสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะได้ทั่วถึงมากขึ้น
ที่มา http://www.isranews.org/politic/index.php?option=com_content&task=view&id=624&Itemid=27
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น