ประการ แรก ผมมองว่าอาจต้องอธิบายถึงปรากฏการในมิติการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น ว่าอยู่ในรูปแบบ ลักษณะอย่างไรด้วย แบบมีส่วนร่วมหรือแบบให้ความร่วมมือ แน่นอนครับถ้าอธิบายในแนวทางของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมที่ถูกกำหนดไว้คงจะเป็นกลไกของ ”ประชาคม” ที่มีหลายระดับไม่ว่า กลไกประชาคมในระดับหมู่บ้าน กลไกประชาคมในระดับตำบลและระดับอำเภอ เนืองจากกลไกนี้เองได้กำหนดถึงบทบาท หน้าที่ในการจัดทำและเสนอแผนพัฒนาในระดับชุมชนรวมถึงในระดับองค์กรปกครองสวน ท้องถิ่นด้วย แต่ที่ผ่านมากลไกเหล่านี้มิได้มีความคล่องตัว และขยับตัวไปในแนวทางการมีส่วนร่วม ซักเท่าไรนัก ในทางกลับกันนั้นเอง กลไกประชาคม กลับถูกทำให้มีเพียงแค่หน้าที่ในการรับรองแผนพัฒนาท้องถิ่น เป็นตราประทับความชอบธรรมของแผนกิจกรรมต่างๆ ไมว่าจะเป็นการเปิดซองประมูล การตรวจรับการจ้าง แต่ก็น่าสนใจนะครับ ถ้ากลไกภาคประชาชนจะเข้ามาใช้พื้นที่แบบนี้ในการผลักดันกลไกการมีส่วนร่วม ที่มากไปกว่าแค่การรับรองแผนพัฒนา เช่น ใช้กลไกเวทีประชาคม ในการถกเถียง วิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือใช้กลไกประชาคมเป็นช่องทางในการผลักดัน การแก้ไขปัญหาไปยังหน่วยปกครองท้องถิ่น
ประการ ที่สอง ผมมองว่ากระบวนการที่เราผลักดันมีลักษณะเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการท้องถิ่น ที่มิใช่จำกัดอยู่แค่ขอบเขตของการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเพียงแค่นั้น แต่หมายรวมถึงการเข้าร่วมในการกำหนด ติดตาม หนุนเสริมการทำงานในระดับท้องถิ่นร่วมกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ด้วย เช่นการสถาปนากลไกสภาประชาชน การเมืองภาคประชาชน ที่ทำหน้าที่หนุนเสริมการทำงานของท้องถิ่น การผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีความเป็นอิสระในการจัดการท้อง ถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของงบประมาณ การบริหารจัดการ การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้มากขึ้นและให้หน่วยของอำเภอ และจังหวัดเปลี่ยนบทบาทจากการกำกับ ควบคุม สั่งการ มาเป็นการหนุนเสริมและให้การปรึกษา
ประการ สุดท้าย ระเบียบข้อบังคับ กฎหมายของท้องถิ่น มีข้อจำกัดมากในการให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิ เช่น ชุมชนร่วมกันในการจัดการทรัพยากรในรูปแบบป่าชุมชน ภายใต้การผลักดันร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจต้องใช่ช่องทางของ พระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ปี 2542 ประเด็นสำคัญในพระราชบัญญัตินี้อยู่ที่ว่า ชุมชนร่วมกับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถออกข้อบังคับ กฎหมายในระดับท้องถิ่นได้ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ข้อบัญญัติท้องถิ่นจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น
เช่น ชาวบ้านจะมีการจัดการป่าในรูปแบบป่าชุมชน ทั้งชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลต่างเห็นชอบที่ให้มีการจัดการป่าชุมชน แต่ปรากฏว่าพื้นที่ป่าชุมชนได้ถูกกรมป่าไม้ต่อมาเป็นกรมอุทยานแห่งชาติและ พันธ์พืชได้ประกาศพื้นที่ป่าในบริเวณนั้นเป็นป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีกฎหมายที่ใช้อยู่แล้ว คำถามมีอยู่ว่า การออกข้อบัญญัติตำบลในการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขององค์การ บริหารส่วนตำบลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และนี้เองเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่เป็นข้อจำกัด อุปสรรคทางกฎหมายท้องถิ่น ที่ทำให้การใช้สิทธิของชุมชนและการสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ค่อนข้างลำบาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น